แว่นอ่านหนังสือคืออะไร เหมาะกับใครบ้าง
- tbfc1000
- 21 ก.ย. 2567
- ยาว 1 นาที
แว่นอ่านหนังสือคืออะไร
แว่นอ่านหนังสือ คือ แว่นที่ใช้สำหรับการอ่านหนังสือโดยเฉพาะ ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาอ่านหนังสือไม่ชัด หรือมองใกล้ไม่ชัด ซึ่งเมื่อต้องอ่านหนังสือต้องยืดแขนออกไป หรือต้องเอาหนังสือเข้ามาใกล้มากๆ จนก่อให้เกิดความเมื่อยแขนหรือเบื่อการยืดเข้ายืดออก เพื่อให้สามารถอ่านหนังสือได้อย่างชัดเจนในระยะที่พอดี โดยการอ่านหนังสือถือเป็นการใช้สายตาในระยะใกล้ แว่นอ่านหนังสือจึงมีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองระยะใกล้เป็นหลัก ประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือ การช่วยลดการเพ่งและการทำงานหนักของดวงตา จึงทำให้ถนอมสายตาได้ดียิ่งขึ้น
แว่นอ่านหนังสือเหมาะกับใคร
เราทราบแล้วว่าแว่นอ่านหนังสือคืออะไร คราวนี้มาดูกันว่าแว่นอ่านหนังสือเหมาะกับใคร แว่นอ่านหนังสือเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาในการอ่านหนังสือหรือข้อมูลที่ต้องตั้งในระยะใกล้ๆ และมีปัญหาด้านการมองเห็น ซึ่งประกอบไปด้วย
• ผู้ที่มีปัญหาสายตายาวตามวัย (Presbyopia)
คนที่อายุมากขึ้น หรือมากกว่า 38 ปี มักจะมีปัญหาในการอ่านหนังสือหรือข้อมูลที่ต้องการตั้งในระยะใกล้ แว่นอ่านหนังสือจะช่วยให้พวกเขาอ่านได้สะดวกขึ้น
• ผู้ที่มีสายตายาวแต่กำเนิด (Hyperopia)
คนที่มีปัญหาสายตาชนิดนี้อาจจะมีความยากลำบากในการอ่านหนังสือหรือข้อมูลที่ตั้งในระยะใกล้ แว่นอ่านหนังสือจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้
• ผู้ที่มีสายตาเอียง (Astigmatism)
คนที่มีสายตาเอียงอาจต้องใช้แว่นอ่านหนังสือที่ถูกปรับแก้สายตาเพื่อให้สามารถอ่านได้ดีขึ้น เพราะผู้ที่มีปัญหาสายตาเอียงมากๆ จะทำให้การมองใกล้มีปัญหาด้วยเช่น มองเห็นภาพซ้อน เป็นเงา ไม่คมชัด

แว่นอ่านหนังสือมีกี่ประเภท
แว่นอ่านหนังสือที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกับแว่นสายตาที่มีอยู่ 3 ประเภทหลัก ได้แก่
• แว่นอ่านหนังสือแบบเลนส์ชั้นเดียว ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นได้ระยะเดียวเท่านั้น ได้แก่ ระยะใกล้ หรือระยะไกล
• แว่นอ่านหนังสือแบบเลนส์ 2 ชั้น เป็นเลนส์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล
• แว่นอ่านหนังสือแบบเลนส์โปรเกรสซีฟ เป็นเลนส์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นได้ทั้ง 3 ระยะ คือ ระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะไกล
สัญญาณที่บอกว่าคุณอาจต้องใช้แว่นตาอ่านหนังสือ
การมองตัวหนังสือเล็กๆ ไม่ชัดเจน
ต้องการแสงมากขึ้นเพื่ออ่านอย่างสบายตา
ตาล้าหรือปวดศีรษะขณะอ่านหนังสือหรือใช้อุปกรณ์ดิจิทัล
แว่นอ่านหนังสือแต่ละประเภท เหมาะกับใครบ้าง
แว่นแต่ละประเภทจะมีความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่ละคนจึงเหมาะสมกับแว่นที่แตกต่างกันตามความต้องการในการใช้งานแว่นอ่านหนังสือ ดังนี้
• แว่นอ่านหนังสือเลนส์ชั้นเดียว
เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความเรียบง่าย หรือผู้ที่ต้องการมีแว่นสำหรับอ่านหนังสือโดยเฉพาะ และไม่ต้องการใช้แว่นอ่านหนังสือนี้กับกิจกรรมอื่นๆ ที่ระยะการมองแตกต่างกัน แต่อาจต้องระวังเรื่องการหาย หรือต้องคอยถอดแว่นเข้าออก
• แว่นอ่านหนังสือแบบเลนส์ 2 ชั้น
เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาค่าสายตา และต้องการมีแว่นอ่านหนังสือที่สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ด้วย โดยค่าสายตาระยะใกล้ที่ใช้สำหรับการอ่านหนังสือจะต้องคำนึงถึงกิจกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย แต่จะมีข้อเสียตรงที่มีรอยต่อของเลนส์ซึ่งอาจไม่สวยงาม
• แว่นอ่านหนังสือแบบเลนส์โปรเกรสซีฟ
เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาค่าสายตาที่ต้องการแก้ไขสายตาหลายระยะและต้องการมีแว่นที่สามารถสวมใส่ได้ตลอดทั้งวันในทุกกิจกรรม โดยไม่ต้องคอยถอดแว่นเข้า-ออก

คำแนะนำสำหรับการตัดแว่นอ่านหนังสือ
เมื่อต้องการที่จะตัดแว่นอ่านหนังสือ สิ่งที่ควรทำก่อนตัดแว่นมี 3 ขั้นตอนดังนี้
• ประเมินความต้องการในการใช้งานว่าต้องการใช้งานสำหรับกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น สวมใส่ในทุกกิจกรรม ใช้เฉพาะอ่านหนังสือ หรือใช้อ่านหนังสือและทำงานกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
• วิเคราะห์คุณสมบัติของแว่นที่ต้องการจากความต้องการในการใช้งานดังกล่าว เช่น หากต้องการได้แว่นอ่านหนังสือและทำงานกับคอมพิวเตอร์ อาจต้องมีคุณสมบัติในการมองระยะใกล้ชัดเจน และช่วยปกป้องแสงสีฟ้าร่วมด้วย
• เลือกแว่นประเภทที่ตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว รวมถึงการได้มาซึ่งคุณสมบัติที่ต้องการ โดยสามารถปรึกษากับนักทัศนมาตรที่ร้านตัดแว่นตาใกล้บ้านคุณ
แว่นอ่านหนังสือไม่ใช่แว่นตาสำหรับคอมพิวเตอร์
• อย่าสับสนระหว่างแว่นอ่านหนังสือกับแว่นตาสำหรับคอมพิวเตอร์.
• หากคุณกำลังใช้แว่นอ่านหนังสือเพื่อพยายามดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ มันอาจจะทำงานได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้การอ่านสิ่งพิมพ์มีระยะที่ใกล้กว่าการอ่านข้อความบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
• นอกจากนี้ หากแว่นอ่านหนังสือของคุณเป็นประเภทที่บังคับให้คุณเอนศีรษะไปด้านหลังเพื่อดูจอภาพของคุณคุณจะต้องออกแรงที่กล้ามเนื้อคอโดยไม่จำเป็น
• ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรลงทุนซื้อแว่นตาสำหรับคอมพิวเตอร์แบบสั่งตัดเพื่อความสบายตาสูงสุดและควรมีป้องกันแสงสีฟ้าเมื่อดูหน้าจอคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ
Commentaires