top of page

เล่นโทรศัพท์ในที่มืดอันตรายจริงไหม?

  • tbfc1000
  • 17 มี.ค.
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 19 มี.ค.

ปัจจุบันหลายคนมักจะเล่นโทรศัพท์ในที่มืด หรือช่วงก่อนนอนปิดไฟแล้วแต่ยังเล่นโทรศัพท์ต่อ ซึ่งการเล่นโทรศัพท์ในที่มืดส่งผลเสียต่อสุขภาพตาอย่างแน่นอน เนื่องจากดวงตาต้องทำงานหนักในการปรับโฟกัสระหว่างความสว่างจากหน้าจอกับความมืดรอบข้าง ทำให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานหนักเกินไป นอกจากนี้ แสงสีฟ้าจากจอโทรศัพท์ยังรบกวนการทำงานของเซลล์ประสาทตา ส่งผลให้เกิดอาการตาล้า ตาแห้ง และอาจนำไปสู่ปัญหาสายตาในระยะยาว มาดูการเล่นโทรศัพท์ในที่มืดอันตรายจริงไหม


เล่นโทรศัพท์ในที่มืดอันตรายจริงไหม?

🩵 ผลเสียของการเล่นโทรศัพท์ในที่มืด


การเล่นโทรศัพท์ในที่มืดไม่เพียงส่งผลกระทบต่อดวงตาเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อร่างกายในหลายด้าน โดยเฉพาะเมื่อใช้งานเป็นเวลานานติดต่อกัน


🥸ผลเสียต่อดวงตา

แสงสีฟ้าจากจอโทรศัพท์เป็นอันตรายต่อจอประสาทตา โดยเฉพาะเมื่อเล่นโทรศัพท์ในที่มืด เพราะรูม่านตาจะขยายกว้างขึ้นเพื่อรับแสง ทำให้แสงสีฟ้าเข้าสู่ดวงตามากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการตาแห้ง ตาล้า วิสัยทัศน์พร่ามัว และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อมในระยะยาว


🥸ผลเสียต่อกล้ามเนื้อ

นอกจากผลกระทบต่อดวงตาแล้ว การเล่นโทรศัพท์ในที่มืดยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อและท่าทางการใช้งาน เพราะมักจะก้มคอหรือนอนตะแคงในท่าที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดอาการปวดตึงที่คอ บ่า ไหล่ บางคนอาจมีอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือหมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร


🩵 เลี่ยงอันตรายจากสมาร์ทโฟนอย่างไร


- พักสายตาสม่ำเสมอ

โดยใช้กฎ 20-20-20 คือทุก 20 นาทีที่ใช้โทรศัพท์ ให้มองวัตถุที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้ผ่อนคลาย และควรหลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์ในที่มืดให้มากที่สุด เพื่อความปลอดภัยของดวงตาเราเอง


- ดื่มน้ำและนอนหลับให้เพียงพอ

นอกจากนี้ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง และหากรู้สึกว่าตาล้าควรหยุดพักทันที อาจใช้วิธีประคบตาด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นเป็นเวลา 5-10 นาที เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อตาผ่อนคลาย และควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน


- ปรับแสงหน้าจอให้เหมาะสม

ปรับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม ไม่ควรใช้ความสว่างสูงสุดเมื่อเล่นโทรศัพท์ในที่มืด ควรเปิดไฟในห้องให้มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อลดความแตกต่างระหว่างแสงจากจอโทรศัพท์กับสภาพแวดล้อม และหากเป็นไปได้ควรเลือกใช้โหมดกลางคืน (Night mode) ที่จะช่วยปรับโทนสีของหน้าจอให้อ่อนลง ลดการรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยในการนอนหลับ พร้อมทั้งตั้งค่าการปรับแสงอัตโนมัติตามเวลา หรือติดฟิล์กรองแสงสีฟ้าที่หน้าจอโทรศัพท์หรืออุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ ที่ใช้


- จัดท่าทางการใช้งานให้ถูกต้อง

นั่งหรือยืนในท่าที่ถูกต้อง ถือโทรศัพท์ให้อยู่ในระดับสายตา และหมั่นยืดเส้นยืดสายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ควรรักษาระยะห่างระหว่างตากับหน้าจออย่างน้อย 30-40 เซนติเมตร และพยายามรักษาคอให้ตั้งตรง ไม่ก้มมากเกินไป อาจใช้อุปกรณ์เสริมอย่างขาตั้งโทรศัพท์หรือแท่นวางเพื่อช่วยให้การใช้งานสะดวกและถูกสุขลักษณะมากขึ้น รวมถึงหมั่นลุกเปลี่ยนอิริยาบถทุก 30-45 นาทีเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อย

Comments


bottom of page